5 ขั้นตอน Decision making เพิ่มคุณภาพการตัดสินใจอย่างเห็นผล
เพิ่มคุณภาพการตัดสินใจทางการบริหารธุรกิจด้วยกระบวนการตัดสินใจ (Decision Making Process) พร้อมเข้าใจทุกองค์ประกอบ ขั้นตอน และรูปแบบการตัดสินใจที่ดี
5 steps decision making process featured image

Decision Making ทักษะการการตัดสินใจ จุดชี้ขาดความสำเร็จในโลกธุรกิจ

“การตัดสินใจ” หนึ่งปัจจัยชี้ขาดการเติบโตของธุรกิจว่าจะรุ่งหรือจะร่วงในธุรกิจยุคดิจิทัล

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลากหลายองค์กรทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงเจ้าของธุรกิจต่างให้ความสำคัญกับการตัดสินใจ หรือ Decision Making อย่างมีคุณภาพมากขึ้น เนื่องจากธุรกิจต้องมี Resilience ที่ต้องล้มและลุกให้ไว พร้อมทั้งตัดสินใจและวางแผนตอบโต้คู่แข่งในสภาพแวดล้อมที่ไร้ความแน่นอน

ดังนั้น Decision making อย่างมีคุณภาพจึงเป็นหนึ่งในทักษะที่เราทุกคนควรฝึกให้ชำนาญและมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะกับ Entrepreneur มือใหม่ที่อยากเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในโลกยุคใหม่ที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลง

วันนี้ Contentbooknotes อยากจะมาแชร์ว่าจริงๆ แล้วทักษะการตัดสินใจ หรือ Decision making คืออะไร? กระบวนการตัดสินใจมีกี่ขั้นตอนที่จะทำให้การตัดสินใจมีคุณภาพ พร้อมทั้งเข้าใจถึงองค์ประกอบของการตัดสินใจว่าต้องคำนึงถึงเรื่องไหนบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย!

cropped-Untitled-Artwork.png

ทักษะการตัดสินใจ Decision making คืออะไร?

ทักษะการตัดสินใจ หรือ Decision making คือ กระบวนการทางความคิดในการใช้เหตุผล ข้อมูล และความเชื่อของผู้ตัดสินใจในการตัดสินใจเพื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

Decision making เป็นทักษะสำคัญของผู้ประกอบการลำดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ครับ เพราะทักษะการตัดสินใจและการแก้ปัญหาเป็นทักษะที่เจ้าของกิจการใช้ราวกับหายใจเข้าออกจากการแก้ปัญหารายวันให้กับลูกค้า ลูกน้อง และกลุ่มที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ธุรกิจดำเนินการได้ตามแผนการครับ

แต่หลายๆ ครั้งการตัดสินใจที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้ผ่านกระบวนการตัดสินใจที่ดีและมีคุณภาพ ซึ่งนำไปสู่ผลกระทบต่างๆ ที่ทางองค์กรหรือเจ้าของกิจการไม่คาดคิดได้

cropped-Untitled-Artwork.png

กระบวนการตัดสินใจ Decision Making Process คืออะไร?

กระบวนการตัดสินใจ หรือ Decision Making Process คือ กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบเพื่อให้สามารถตัดสินใจได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล อิงจากข้อมูลและสมมติฐานที่มีคุณภาพ ซึ่งนำไปสู่การตัดสินใจที่มีคุณภาพ

สิ่งที่ทำให้การตัดสินใจอย่างไม่มีหลักการคิดกับการคิดแบบมีกระบวนการก็คือ ความเป็นลำดับขั้นตอน ครับ การคิดวกวนไปมาอย่างไร้ทิศทางอาจทำให้เราหลงทิศได้ว่า ทำไมเราถึงต้องตัดสินใจทำสิ่งนี้ หรือ การตัดสินใจจะส่งผลกระทบอะไรบ้าง ซึ่งแตกต่างอย่างมากกับ Decision Making Process ที่จะช่วยให้เราตัดสินใจอย่างมีระบบมากขึ้น 

5 องค์ประกอบของการตัดสินใจ ที่ต้องคำนึงเพื่อการตัดสินใจอย่างมีคุณภาพ

สิ่งที่จะช่วยทำให้เราตัดสินใจได้อย่างเฉียบแหลมได้นั้น คือ การเข้าใจถึงองค์ประกอบของการตัดสินใจว่ามีอะไรต้องคำนึงบ้าง โดย Decision making นั้นจะประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบดังนี้ครับ

cropped-Untitled-Artwork.png

องค์ประกอบการตัดสินใจอย่างมีคุณภาพที่ต้องคำนึง

  • ผู้มีอำนาจตัดสินใจ (Decision Maker)
  • จุดมุ่งหมายของการตัดสินใจ
  • เกณฑ์การตัดสินใจ
  • การพิจารณาทางเลือก
  • ความไม่แน่นอน

Decision Maker ผู้มีอำนาจตัดสินใจ

Decision maker คือ คนที่มีอำนาจในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ของธุรกิจ เช่น การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ในการซื้อกิจการ การลงทุนในที่ดิน หรืออนุมัติแผนประจำปี เป็นต้น

ในการทำงานหลายๆ ครั้ง คนที่ทำงานกับคนที่ตัดสินใจมักจะเป็นคนละคนกัน โดยเฉพาะกับ First Jobbers ที่จะเป็นคนรับหน้าที่ต่อจาก Decision Maker นั้นๆ เช่น Manager เป็นคนสั่ง และเรารับงานต่อจากหัวหน้ามาทำต่อนั่นเอง

ดังนั้น Decision Maker จึงเป็นองค์ประกอบที่ต้องคำนึงในการตัดสินใจด้วย เช่น คนที่เป็นคนตัดสินใจมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะมาตัดสินใจในเรื่องนี้หรือไม่ เป็นต้นครับ

จุดมุ่งหมายของการตัดสินใจ

การตัดสินใจควรมีเป้าหมายทุกครั้ง เช่น การตัดสินใจอนุมัติแผน 100 ล้านนั้นจะต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนว่า ทำไมถึงต้องมีแผน 100 ล้าน, แผนนี้ใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ถึงจะทำได้ตามเป้า หรือ โอกาสที่แผน 100 ล้านจะเป็นไปได้ตามเป้ามีความเป็นไปได้แค่ไหน ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ทำให้การตัดสินใจมีคุณภาพก็คือการเข้าใจจุดมุ่งหมายของการตัดสินใจแต่ละครั้งครับ

เกณฑ์การตัดสินใจ

การตัดสินใจอย่างมีคุณภาพนั้น เราควรจะมีหลักเกณฑ์การตัดสินใจที่ดีเพื่อลดความผิดพลาดในการตัดสินใจผิดพลาดครับ ซึ่งแต่ละคนอื่นก็จะมีแนวทางการตัดสินใจที่แตกต่างกันไป 

ตัวอย่างคือ ผู้บริหารระดับสูง หรือ CEO อาจจะมีเกณฑ์การตัดสินใจในการอนุมัติงบ 100 ล้านเพื่อลงทุนใน AI และหวังผลว่าจะสามารถช่วยให้ธุรกิจได้เปรียบในระยะยาว แต่ CFO หรือผู้บริหารระดับสูงด้านการเงิน อาจจะไม่เห็นด้วยกับแผนนี้เพราะมีเกณฑ์การตัดสินใจเรื่องเงินในช่วงระยะสั้นที่ต้องคำนึงมากกว่าเรื่องระยะยาว เป็นต้น

ดังนั้นเกณฑ์การตัดสินใจ (และ Decision Maker) จึงเป็นสิ่งสำคัญมากๆ ที่จะชี้ขาดว่าการตัดสินใจในแต่ละครั้งจะมีคุณภาพหรือไม่ 

การพิจารณาทางเลือก

ในการบริหารธุรกิจ สิ่งที่ต้องตัดสินใจนั้นมักไม่ได้มีเรื่องเดียว แต่มีหลากหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกันและอาจต้องตัดสินใจพร้อมกัน ดังนั้นการพิจารณาทางเลือกจึงเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อคุณภาพการตัดสินใจอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่เราเข้าถึงข้อมูลได้มากมาย ทำให้เราได้รับผลกระทบจาก Information Overloaded ที่มีข้อมูลมากมาย พบทางเลือกหลากหลาย และทำให้ไม่อาจตัดสินใจได้อย่างเฉียบคมครับ

ดังนั้นการพิจารณาจึงเป็นองค์ประกอบการตัดสินใจที่ส่งผลต่อคุณภาพการตัดสินใจอย่างมาก ซึ่งสิ่งที่เราควรทำ คือ การตัดทางเลือกให้พอเหมาะ เหลือแค่ทางเลือกสำคัญๆ เท่านั้น เพื่อยกระดับคุณภาพการตัดสินใจให้มากขึ้นครับ 

ความไม่แน่นอน

ไม่ใช่ทุกการตัดสินใจของเราจะเป็นไปอย่างที่เราคิดและคาดการณ์ไว้ เพราะ ทุกอย่างรอบตัวเราเต็มไปด้่วยความไม่แน่นอนครับ เราควรนึกไว้เสมอว่ามีโอกาสตัดสินใจผิดพลาด 

ดังนั้นเราควรมีแผน A หรือ แผน B สำหรับรับมือกับเหตุการณ์ในอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้นกับความไม่แน่นอนตรงนี้ครับ ซึ่งจะช่วยให้คุณภาพการตัดสินใจเราไม่ดร็อปลงมากครับ

4 รูปแบบของการตัดสินใจมีอะไรบ้าง?

หลังจากที่เราเข้าใจแล้วว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้างที่สำคัญต่อการตัดสินใจ สิ่งที่เราต้องเข้าใจก็คือรูปแบบของการตัดสินใจนั่นเอง

เนื่องจากเราต้องตัดสินใจในสิ่งต่างๆ ในหลากหลายสถานการณ์ ดังนั้นรูปแบบการตัดสินใจก็จะไม่เหมือนกันเลยในแต่ละครั้ง ผมมี 4 รูปแบบ Decision Making ที่คิดว่าจะช่วยทำให้เห็นภาพมากขึ้นว่า การที่เราจะตัดสินใจอย่างมีคุณภาพ ในสถานการณ์ต่างๆ ต้องตัดสินใจในรูปแบบไหน

4 styles of decision making including decisive, flexbile, hierarchical, and integrative

1. รูปแบบการตัดสินใจแบบเด็ดขาด (Decisive Decision making)

รูปแบบการตัดสินใจแบบเด็ดขาดจะใช้เกณฑ์ในการตัดสินใจที่ให้ความสำคัญความเร็ว ประสิทธิภาพ และการทำได้เลยทันที เมื่อตัดสินใจแล้วมันจะไม่เปลี่ยนแผนภายหลัง แต่จะพยายามทำตามแผนให้ได้มากที่สุด 

การตัดสินใจแบบเด็ดขาดเหมาะกับสถานการณ์ที่ไม่ได้มีตัวเลือกมากนัก แต่ต้องการความเร็วในการตัดสินใจของ Decision Maker เพื่อให้แผนดำเนินการต่อไปได้ เพราะมีกรอบเวลามาบีบบังคับ และต้องการความแน่นอนเพื่อให้งานเดินต่อไปได้

ส่วนตัวผมคิดว่าการตัดสินใจแบบเด็ดขาดเหมาะกับช่วงแรกๆ ของการเริ่มต้นทำธุรกิจเป็นของตัวเองมากๆ โดยเฉพาะกับคนที่พนักงานประจำแล้วรู้สึกว่ายังไม่พร้อมสักที 

จริงๆ แล้วเราจะมีข้อมูลมากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่เราเริ่มธุรกิจไปแล้วสักพักครับ ดังนั้นแล้วสิ่งที่เราต้องการสำหรับการเริ่มธุรกิจก็คือความเด็ดขาดนั่นเอง เด็ดขาดกับตัวเองว่าวันนี้แหละคือว่าที่เราต้องเริ่มทำธุรกิจอย่างจริงจัง อาจไม่ต้องเริ่มทำใหญ่โต แต่ค่อยๆ ทำไปเก็บข้อมูลไปครับ

2. รูปแบบการตัดสินใจแบบยืดหยุ่น (Flexible Decision making)

การตัดสินใจแบบ Flexible มีความคล้ายกับการตัดสินใจแบบเด็ดขาด คือ การเน้นเรื่องของความเร็วในการตัดสินใจ แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ สไตล์การตัดสินใจแบบยืดหยุ่นนั้นจะให้ความสำคัญกับการปรับตัวตามสถานการณ์ หากมีข้อมูลเพียงพอให้ปรับแผน ก็สามารถปรับการทำงานได้ทันทีเมื่อจำเป็น

รูปแบบการตัดสินใจแบบยืดหยุ่นจะเหมาะกับสถานการณ์ที่เรามีตัวเลือกที่ค่อนข้างมาก แต่มีข้อมูลไม่ได้มากนัก เช่น รู้ว่าการลงทุนในเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อองค์กรในระยะยาว แต่ยังไม่ค่อยมั่นใจควรจะให้ความสำคัญกับด้านไหน ไม่ว่าจะเป็น Big Data, AI หรือ Digital Transformation จึงเลือกตัดสินใจไปก่อนและหากมีข้อมูลเพิ่มขึ้นค่อยกลับมาปรับแผนใหม่

ส่วนตัวผมคิดว่าการตัดสินใจแบบนี้จะเหมาะกับสถานการณ์ช่วงเศรษฐกิจขาลงที่เราต้องคอยรับมือกับปัญหาต่างๆ แต่ก็ต้องเตรียมพร้อมไว้สำหรับช่วงเวลาที่เศรษฐกิจจะกลับมาขาขึ้นอีกครั้งเป็นต้นครับ 

3. รูปแบบการตัดสินใจแบบลำดับขั้น (Hierarchical Decision making)

รูปแบบการตัดสินใจแบบลำดับขั้นจะเป็นการตัดสินใจที่เน้นการใช้เวลาในการคิด หาข้อมูล และวิเคราะห์เพื่อให้การตัดสินใจมีคุณภาพที่สุด

สไตล์การตัดสินใจแบบนี้จะเหมาะกับสถานการณ์ที่มีตัวเลือกสำคัญๆ ให้ตัดสินใจไม่มากนัก แต่มีข้อมูลเป็นจำนวนมากที่ต้องวิเคราะห์และตกผลึกเพื่อให้คุณภาพการตัดสินใจออกมาดีที่สุด

4. ความตัดสินใจแบบบูรณาการ (Integrative Decision making)

การตัดสินใจแบบบูรณาการเป็นการตัดสินใจที่เน้นมองภาพแบบกว้างๆ มองทุกองค์ประกอบที่มีความเกี่ยวข้องต่อการตัดสินใจ และไม่ได้ยึดว่าทางเลือกไหนเป็นการตัดสินใจที่ดีที่สุด 

ดังนั้นการตัดสินใจแบบบูรณาการจะเน้นการรับฟังความเห็นจากผู้อื่น ไม่มองว่าความเห็นคนไหนถูกหรือผิด แต่เน้นการได้เห็นทางเลือกจำนวนมากๆ เพือให้ตัดสินใจได้อย่างมีคุณภาพ

เพิ่มคุณภาพการตัดสินใจ ด้วย 5 ขั้นตอน Decision making process กระบวนการตัดสินใจแบบชาญฉลาด

ผมคิดว่าเราเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการตัดสินใจว่าองค์ประกอบและรูปแบบอย่างไรบ้าง แต่สิ่งที่สำคัญอย่างมากที่จะทำให้การตัดสินใจมีคุณภาพคือ การตัดสินใจอย่างมีกระบวนการ ครับ ซึ่งผมต้องออกตัวก่อนเลยว่าขั้นตอนในการตัดสินใจของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน แต่ที่ผมจะมาแชร์นี้เป็นกระบวนการตัดสินใจ 5 ขั้นตอนที่ผมคิดว่าจะเป็นประโยชน์และสามารถนำไปปรับใช้กับทุกคนได้ครับ มาดูเลยกันเลย!

cropped-Untitled-Artwork.png

5 กระบวนการตัดสินใจด้วย Decision making process

  • เข้าใจสถานการณ์ของสิ่งที่ต้องตัดสินใจด้วย Situational Analysis
  • เข้าใจว่าอะไรคือเกณฑ์ในการตัดสินใจที่ดี
  • วิเคราะห์ทางเลือกในการตัดสินใจ
  • ตัดสินใจและดำเนินการตามแผน
  • ติดตามผลการตัดสินใจ

1. เข้าใจสถานการณ์ของสิ่งที่ต้องตัดสินใจด้วย Situational Analysis

สิ่งสำคัญอย่างแรกที่เราต้องทำก่อนจะตัดสินใจคือเราต้องเข้าใจสถานการณ์ก่อนว่า สิ่งที่เข้ามาให้เราตัดสินใจนั้นคืออะไร และจะเกิดผลกระทบอะไรบ้างครับ

สิ่งที่ผมมักจะทำเป็นประจำคือการวิเคราะห์สถานการณ์ภายในและภายนอกของธุรกิจว่า สิ่งที่เราจะตัดสินใจจะกระทบอะไรบ้าง โดยผมจะวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนด้วย SWOT Analysis และวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกว่ามีอะไรที่เป็นโอกาสและอุปสรรคด้วย PESTEL Analysis และ Five Force Model ครับ

การวิเคราะห์สถานการณ์ภายในและภายนอกจะทำให้เราเข้าใจมากขึ้นว่ามีเราจะใช้รูปแบบการตัดสินใจแบบไหน เช่น ถ้าช่วงนี้เป็นช่วงขาลงของธุรกิจเรา และสิ่งที่ต้องตัดสินใจคือแผนการสำหรับรองรับเมื่อเศรษฐกิจกับมาอยู่ในช่วงขาขึ้น รูปแบบการตัดสินใจที่เหมาะสมก็คือการตัดสินใจแบบยืดหยุ่นที่เราจะต้องรับมือกับวิกฤตและเตรียมตัวให้พร้อมกับช่วงขาขึ้นของธุรกิจครับ

2. เข้าใจว่าอะไรคือเกณฑ์การตัดสินใจที่เหมาะสม

แต่ละธุรกิจมีเกณธ์การตัดสินใจที่แตกต่างกันไปครับ รวมถึงสิ่งที่ต้องตัดสินใจก็แตกต่างกันด้วย ดังนั้นทุกๆ ครั้งที่เราต้องตัดสินใจ เราควรจะต้องเข้าใจว่าจุดมุ่งหมายของการตัดสินใจครั้งนี้คืออะไร ซึ่งจะช่วยให้เราเริ่มรู้ว่าต้องใช้เกณฑ์อะไรมาตัดสินใจเพื่อไปถึงจุดมุ่งหมายนั้นครับ ผมคิดว่าการใช้ Decision Matrix จะช่วยทำให้เราเห็นภาพมากขึ้นว่าเกณฑ์ไหนมีความสำคัญเท่าไหร่และสิ่งที่ต้องตัดสินใจมีความสำคัญประมาณไหน

decision martix to evaluate criteria and make sense of decision making

อันนี้คือตัวอย่าง Decision Matrix แบบ 2 x 3 โดยสิ่งที่ต้องตัดสินใจคือ เราควรลงทุนในที่ดินหรือไม่ จากตัวอย่างเราจะเห็นว่าที่ดิน B เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ แต่ถ้าเกิดเพิ่มเกณฑ์อื่นขึ้นมาประกอบการตัดสินใจละก็ ที่ดิน B ก็อาจจะชนะก็ได้ครับ ซึ่งตัวอย่างนี้ทำให้เราเห็นภาพมากขึ้นว่าเกณฑ์ไหนสำคัญและที่ดินแปลงไหนควรพิจารณาก่อน ครับ

3. วิเคราะห์ทางเลือกในการตัดสินใจ

ทุกการตัดสินใจเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนอย่างที่เราอ่านกันไปในช่วงต้นของบทความ ดังนั้นเพื่อให้เราสามารถลดความเสี่ยงลงไปได้ สิ่งเราทำคือการวิเคราะห์ทางเลือกว่าการตัดสินใจไหนจะเป็นประโยชน์ต่อเรามากที่สุดครับ

เวลาพิจารณาทางเลือกในกรณีที่เป็นการตัดสินใจสำคัญๆ เช่น การซื้อที่ดิน ก็คือ การศึกษาความเป็นไปได้ หรือ Feasibility Analysisครับ ครับ ซึ่งสิ่งที่เราต้องคำนวณเพื่อให้รู้ว่าการตัดสินใจจะเป็นประโยชน์ที่สุดก็คือ การคำนวณ Break-even point ว่าเราจะมีจุดคุ้มทุนเท่าไหร่ รวมถึงการคำนวณ Payback Period ว่าจะใช้ระยะเวลาคืนทุนนานเท่าไหร่ และการคำนวณผลตอบแทนจากการลงทุนด้วย NPV และ IRR เป็นต้น ครับ

4. ตัดสินใจและดำเนินการตามแผน

สิ่งที่ต้องระวังในจุดนี้คือ Bias ที่เรามีครับ เพราะ หลายๆ ครั้งเราอาจตกหลุมพรางในการตัดสินใจจากความเชื่อของเราได้ ตรงนี้เป็นจุดที Decision Maker หรือผู้มีอำนาจในการตัดสินใจมีความสำคัญมากๆ ครับ เพราะที่ผ่านมาทั้งหมดจะดีหรือแย่ก็ขึ้นอยู่กับ Decision Maker แล้วว่าตัดสินใจแบบไหน และเมื่อตัดสินใจแล้ เราก็ดำเนินการตาม Action Plan ต่อไปครับ

5. ติดตามผลการตัดสินใจ

ทุกๆ ครั้งที่เราตัดสินใจเสร็จสิ้น สิ่งที่เราต้องคอยดูคือการตัดสินใจครับ เพราะ เราจะรู้ว่าผลของการตัดสินใจมีคุณภาพดีหรือไม่ดีนั้นขึ้นอยู่กับการประเมินผลของเรานั่นเอง และสิ่งที่เราใช้ดูเพื่อประเมินผลก็คือ KPI ครับ สำหรับบางองค์กรอาจจะใช้ OKR เพื่อวัดผล Action Plan ของเราว่าดีหรือไม่ดี และปรับปรุงแผนการของเราได้ตามสถานการณ์และรูปแบบการตัดสินใจของเราครับ

ส่วนผมทำงานที่เกี่ยวข้องกับ Digital Marketing จะมีค่า Metrics ที่ต้องดูตลอดเวลาอยู่แล้วครับ เช่น ถ้าเรายิงโฆษณาในแพลตฟอร์มออนไลน์ละก็ เราอาจจะดูค่า Reach ว่าโฆษณาเราเข้าถึงคนได้กี่คนเป็นต้นครับ

สรุป Decision Making ทักษะการตัดสินใจ

จบกันไปแล้วสำหรับการเพิ่มคุณภาพการตัดสินใจด้วย 5 ขั้นตอน Decision Making ครับ ผมหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ทุกคนสามารถตัดสินใจในสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นการทำงานในองค์กรในฐานะ First Jobber หรือการเริ่มธุรกิจของตัวเองนะครับ

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

ทักษะการตัดสินใจ หรือ Decision making คือ กระบวนการทางความคิดในการใช้เหตุผล ข้อมูล และความเชื่อของผู้ตัดสินใจในการตัดสินใจเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้

ทักษะการตัดสินใจและการแก้ปัญหาเป็นสิ่งที่แทบจะรวมกันเป็นเนื้อเดียวเลยครับ

แต่ความแตกต่างระหว่างการตัดสินใจ Decision making กับ การแก้ปัญหา Problem Solving จริงๆ ก็คือ

การตัดสินใจ คือ การประเมินตัวเลือก และตัดสินใจลงมือทำสิ่งต่างๆ เพื่อให้บรรลุผลที่วางไว้ ในขณะที่ทักษะการแก้ปัญหา หมายถึง ความสามารถในการระบุปัญหา และย่อยปัญหาใหญ่ให้เป็นปัญหาเล็กๆ เพื่อให้ปัญหาง่ายต่อการแก้ไขมากขึ้น

The Seasoned Executive’s Decision-Making Style. (2014, August 1). Harvard Business Review. https://hbr.org/2006/02/the-seasoned-executives-decision-making-style

Forgeard, V. (2022, August 4). Why Decision-Making Is Important in Management. Brilliantio. https://brilliantio.com/why-decision-making-is-important-in-management/

Decision Making Process. (n.d.). https://www.tutorialspoint.com/management_concepts/decision_making_process.htm

What is a Decision Matrix? Pugh, Problem, or Selection Grid | ASQ. (n.d.). https://asq.org/quality-resources/decision-matrix

บทความนี้มีเป็นประโยชน์กับคุณหรือไม่?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวตเลย!

Average rating 5 / 5. Vote count: 6

Written by