Entrepreneur อยากเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จต้องเริ่มยังไง?
เรียนรู้แนวคิด Entrepreneur คืออะไร? พร้อมทักษะและมายเซ็ทที่สำคัญของผู้ประกอบการต่อการปั้นธุรกิจให้ประสบความสำเร็จติดตลาด

Entrepreneur ผู้ประกอบการนักมองหาโอกาส สร้างธุรกิจที่ประสบความสําเร็จ

“ผู้ประกอบการ” อาชีพสุดฮิต สู่การใช้ชีวิตได้ตามฝันของคนทุก Generation 

54% ของคน Gen Z ฝันอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง แต่จะมีสักกี่คนที่สามารถปั้นธุรกิจได้และใช้ชีวิตได้ตามฝันจริงๆ กันนะ?

สิ่งนึงที่ผมคิดว่าจะช่วยให้เราเข้าใกล้การเป็น Entrepreneur ที่ประสบความสำเร็จได้ก็คือ การศึกษาคนที่ประสบความสำเร็จ การเข้าใจความเป็นผู้ประกอบการ ทักษะที่จำเป็น มายเซ็ทพื้นฐาน และคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ดี ที่จะส่งเสริมให้ฝันเราเป็นจริงได้ครับ

วันนี้ Contentbooknotes อยากจะมาแชร์เรื่องของการเป็นผู้ประกอบการว่า จริงๆ แล้ว Entrepreneur คืออะไร? มี Entrepreneurial skills และมายเซ็ทอะไรที่สำคัญต่อการเป็นผู้ประกอบการบ้าง พร้อมตัวอย่างที่จะช่วยไปปรับใช้กับเส้นทางการเป็นผู้ประกอบการของทุกคนได้ครับ ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย!

cropped-Untitled-Artwork.png

Entrepreneur คืออะไร?

ผู้ประกอบการ หรือ Entrepreneur คือ บุคคลที่มองเห็นโอกาสทางธุรกิจจากเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัว และนำมาสร้างสินค้าและบริการเพื่อตอบโจทย์ลูกค้า และสร้างรายได้ให้กับตัวเอง

ซึ่งการเป็นผู้ประกอบการนั้นสามารถเป็นได้หลากหลายแบบเลยครับ ขึ้นอยู่กับแนวทางการทำธุรกิจของเราว่าไปตรงกับประเภทไหน ซึ่งโดยรวมแล้วจะแบ่งได้ออกประมาณ 4 ประเภท จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยครับ

ผู้ประกอบการมีกี่ประเภท? ตัวอย่าง Entrepreneur ทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่

ตัวอย่างประเภทผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ทั้ง 4 ประเภท

1. ผู้ประกอบการ SME

SME หรือ Small and Medium Enterprises คือ ธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลางซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับธุรกิจด้านการผลิด การค้า และการบริการ

เรามักจะไม่ค่อยเห็นคนรุ่นใหม่ทำธุรกิจแบบ SME ในปัจจุบันมากนักเมื่อเทียบกับคนรุ่นก่อนๆ เพราะการบริหารธุรกิจแบบ SME มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงครับ เนื่องจากไม่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage) เหมือนธุรกิจในปัจจุบันครับ 

2. Digital entrepreneur หรือ Online entrepreneur

Online entrepreneur คือ ผู้ประกอบการที่เน้นการทำสินค้าและบริหาร รวมถึงการบริหารธุรกิจทั้งหมดในโลกออนไลน์ เช่น ทำการขายของบนเว็บไซต์แทนการเช่าพื้นที่ในห้างเพื่อขายของ เป็นต้น ส่วน Digital Entrepreneur ก็มีความคล้ายคลึงกันครับ แต่ Digital entrepreneur จะมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่มากกว่าเรื่องของการขายของตามแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น การทำ Marketing Automation เป็นต้นครับ

โดยข้อได้เปรียบของการเป็น Online entrepreneur และ Digital Entrepreneur คือ ต้นทุนที่ถูกกว่าในการบริหารจัดการ รวมถึงความสามารถในการทดสอบสมมติฐานเพื่อลดความเสี่ยงของธุรกิจครับ

ตัวอย่างของ Online entrepreneur ที่เห็นได้ค่อนข้างชัดเจนก็คือ พิมรี่พาย ที่ขายของโดยใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ พร้อมทั้งสร้าง Content ที่เอ็นเกจกับลูกค้าเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับแบรนด์ของตนเองได้อย่างชาญฉลาดครับ

3. ผู้ประกอบการเพื่อสังคม Social entrepreneur

Social entrepreneur คือ ผู้ประกอบการที่มีความตั้งใจในการนำความรู้ด้านธุรกิจผนวกกับสิ่งที่ตนเองชำนาญมาทำเป็นธุรกิจที่มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือสังคมโดยรวม เช่น เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม หรือ แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ ครับ

ตัวอย่างของ Social entrepreneur ก็จะมีอภัยภูเบศ มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพมาใช้ในการดูแลสุขภาพของคนไทย อีกทั้งในกระบวนการขั้นตอนต่างๆ ล้วนให้ความสำคัญกับสังคมและสิ่งแวดล้อม และผลกำไรกว่า 50% ถูกนำไปใช้เพื่อสังคม

4. Startup

Startup คือ ธุรกิจชนาดเล็กที่มีความคล้ายกับ SME เลยครับ เพียงแต่ว่าข้อแตกต่างสำคัญระหว่าง SME กับ Startup นั้นก็คือ Startup เป็นการทำธุรกิจที่เน้นการนำนวัตกรรมมาใช้สร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้า ผ่านการแก้ไข Pain Point ของลูกค้า และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับธุรกิจตนเองครับ

ซึ่งเมื่อ Startup สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีตรงนี้ได้มากๆ ก็สามารถที่จะขยายฐานลูกค้าและสร้างรายได้ให้เติบโตได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อมีขนาดใหญ่ประมาณนึงแล้วก็มักจะมีบริษัทใหญ่ๆ ระดับโลกซื้อกิจการไป เพื่อนำเทคโนโลยี แบรนด์ และฐานลูกค้าของ Startup นี้ไปใช้ประโยชน์ต่อครับ แต่ถ้าไม่ได้ถูกซื้อกิจการไป ก็มีโอกาสที่จะกลายเป็น Unicorn หรือเติบโตเป็นเหมือนกับบริษัทใหญ่ๆ เช่น Facebook ที่ก็เริ่มต้นจากการเป็น Start up มาก่อนครับ

ตัวอย่างของธุรกิจ Startup มีมากมายเลยครับ เช่น AirBnb, Pinterest, Uber, Mailchimp และอีกมากมายที่เน้นการมีนวัตกรรมเป็นองค์ประกอบหลักในการทำธุรกิจครับครับ

การพัฒนาทักษะของการเป็นผู้ประกอบการที่ดี ควรเริ่มต้นอย่างไร?

ถ้าถามการเริ่มต้นทำธุรกิจที่ดีควรเริ่มจากสิ่งใดเป็นลำดับแรกละก็ ผมคิดว่าการมี mindset ที่ดี เป็นสิ่งสำคัญลำดับแรกสุดเลยครับ ยังไม่ต้องพูดถึงเรื่องเงินทุนหรือความรู้ในการบริหารธุรกิจเลยนะครับ เพราะนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจำนวนนึงเลยมีมายเซ็ทที่เป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเริ่มต้นธุรกิจครับ โดย mindset ที่ว่าก็คือ Entrepreneurial mindset ครับ

Entrepreneurial mindset คือ กรอบแนวคิดที่ช่วยให้เรามองเห็นโอกาสจากสิ่งต่างๆ รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นโอกาสจากสกิลที่เราชำนาญ หรือจากสถานการณ์รอบตัวที่เป็นใจ เพื่อนำโอกาสเหล่านี้มาต่อยอดมาสร้างธุรกิจที่ประสบความสำเร็จครับ

ตัวอย่างมายเซ็ทของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จที่เรามักจะเห็นกันบ่อยๆ ก็คือ Growth mindset ที่ให้ความสำคัญกับความพยายามของตนเอง ไม่ยอมแพ้และเรียนรู้จากความผิดพลาดรับ

ซึ่งการมีมายเซ็ทผู้ประกอบการเป็นรากฐานสำคัญของความสำเร็จในการเป็น Entrepreneur ของเราครับ 

อีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญสำหรับการเป็นผู้ประกอบการก็คือเรื่องของวิสัยทัศน์ครับ การที่ผู้ประกอบการมีแรงผลักดันที่ต้องการให้ Vision ของตนเองเป็นจริงจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ครับ

ถัดมาจากเรื่องของ mindset กับวิสัยทัศน์แล้ว สิ่งที่สำคัญลำดับถัดมาก็คือสกิล หรือ ทักษะที่จำเป็นในการผู้ประกอบการที่ดีครับ จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลยครับ

cropped-Untitled-Artwork.png

7 ทักษะผู้ประกอบการ (Entrepreneurial skills) ที่ต้องมีถ้าอยากปั้นธุรกิจให้ปัง

  • ทักษะการจัดการ และ ความรู้พื้นฐานในการทำธุรกิจ
  • ทักษะการตัดสินใจ (Decision Making)
  • ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving)
  • ทักษะการสื่อสาร
  • ทักษะภาษาอังกฤษ
  • ทักษะการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส (Resilience)
  • Soft Skills

1. ทักษะการจัดการ และ ความรู้พื้นฐานในการทำธุรกิจ

ผมคิดว่า ทักษะที่เราควรมีก่อนจะเริ่มธุรกิจคือทักษะการจัดการและความรู้พื้นฐานในการทำธุรกิจครับ ซึ่งทักษะการจัดการ หรือ management skill คือ ส่วมผสมของทักษะพื้นฐานในการบริหารธุรกิจและองค์กรให้สามารถดำเนินการได้ 

ผมคิดว่า ถ้าต้องยกตัวอย่างความรู้พื้นฐานในการทำธุรกิจละก็ 6 ความรู้ด้านล่างนี้จะเป็นคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่สำเร็จส่วนใหญ่มีกันครับ

ตัวอย่างทักษะการจัดการและความรู้บริหารธุรกิจที่ควรรู้ก่อนเริ่มเป็นเจ้าของกิจการ

  • Pain point คือ แนวคิดที่ว่า ปัจจุบันมีหลากหลายปัญหาที่ลูกค้าประสบพบเจอ แต่ยังไม่ได้มีธุรกิจไหนเข้าไปแก้ไขอย่างจริงจัง ซึ่งผมคิดว่า Pain point เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการที่อยากจะเริ่มธุรกิจควรคิดเป็นอย่างแรกๆ เลยครับ เพราะจุดนี้จะช่วยให้เราสร้างสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างแท้จริง และทำให้เรามีรายได้อย่างยั่งยืนครับ

 

  • SWOT คือ การมองหาโอกาสและอุปสรรคจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในที่มาจากจุดแข็งและจุดอ่อนของเราครับ สิ่งที่ทำให้ Entrepreneur สามารถมองหาโอกาสจากสิ่งต่างๆ ได้ ก็เพราะสามารถมองสิ่งต่างๆ อย่างเป็นระบบ เหมือนการวิเคราะห์ SWOT นี่แหละครับ ดังนั้นการมีเครื่องมือวิเคราะห์พื้นฐานอย่าง SWOT ไว้ จะเป็นรากฐานสำคัญในการเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จครับ
  •  
  • Business model canvas คือ ไอเดียภาพรวมธุรกิจของเราว่ามีสามารถสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้าและสร้างรายได้กลับมาให้เราได้อย่างไร ซึ่งจะประกอบไปด้วยการสร้าง Value Proposition ที่ตอบโจทย์ Pain Point ของลูกค้า ทรัพยากรที่ต้องใช้ โครงสร้างต้นทุนที่ต้องแบกรับ รวมถึงการทำ CRM ให้ธุรกิจของเราสามารถเกิดการสร้างรายได้อย่างยั่นยืนครับ ดังนั้นทักษะการเขียน Business Model เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ครับ ในการเป็นผู้ประกอบการที่ดี

 

  • OKR คือ การวางเป้าหมายที่วัดผลได้ ด้วยการวางผลลัพธ์ที่ต้องเกิดขึ้นเพื่อทำให้เป้าหมายเป็นจริง ซึ่งทักษะการตั้งเป้าหมายเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้าม เพราะ การตั้งเป้าหมายที่สามารถวัดผลได้และทำได้จริงจะเป็นตัวกำหนดความสำเร็จของธุรกิจเราเลยก็ว่าได้ครับ

 

  • Action plan คือ การวางแผน หลายๆ ครั้ง เรามีฝันอยากจะเป็นผู้ประกอบการ เป้าหมายก็มีแล้ว OKR ก็ตั้งแล้ว ขาดก็แค่แผนการกับการลงมือทำนี่แหละครับ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ที่ประสบความสำเร็จนั้นมักจะมี Action Plan คร่าวๆ ในระดับนึง เพื่อเป็นการบังคับตัวเองให้ลงมือทำมากกว่าการคิดอยู่ในหัวนั่นเอง

 

  • Digital marketing คือ การทำตลาดเพื่อเข้าถึงลูกค้าของผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งในโลกธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและโลกออนไลน์ เป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้เลยที่ผู้ประกอบการยุคใหม่จะต้องมีความรู้พื้นฐานด้านการตลาดออนไลน์ไว้สำหรับการวางกลยุทธ์การตลาดครับ

 

2. ทักษะการแก้ปัญหา

ปัญหาเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องเจอในทุกช่วงเวลาการบริหารธุรกิจครับ ซึ่งปัญหาที่ว่าก็ไม่ใช่แค่การแก้ไขปัญหาให้กับธุรกิจเท่านั้นนะครับ แต่รวมถึงการแก้ปัญหาให้กับลูกค้า รวมถึงไปการแก้ Pain Point ก็เป็นสิ่งที่ต้องการทักษะ Problem Solving ทั้งสิ้นครับ

ดังนั้นการมีทักษะการแก้ปัญหาที่เป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอน แยกปัญหาใหญ่ๆ ออกเป็นปัญหาย่อยๆ เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา และการวางแผนแก้ไข จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ในการช่วยให้ธุรกิจเติบโตและประสบความสำเร็จครับ

3. ทักษะการตัดสินใจ

ทักษะ Decision making เป็นทักษะสำคัญของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จมักจะมีติดตัวกัน และใช้กันอย่างช่ำชองครับ เพราะทุกการเติบโตของธุรกิจเกิดจากการตัดสินใจของเจ้าของกิจการทั้งสิ้นครับ ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจใหญ่ๆ อย่างการลงทุนในเทคโนโลยี การพัฒนาสินค้าเพื่อบุกตลาดใหม่ หรือไปจนกระทั่งการตัดสินใจเล็กๆ อย่างการเลือก 

ดังนั้นถ้าอยากจะเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จละก็ ต้องฝึกฝันให้ตัวเองตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดนะครับ

4. ทักษะการสื่อสาร

การสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ กับผู้ประกอบการยุคใหม่ โดยเฉพาะถ้าเราเป็น Entrepreneur ที่เริ่มต้นทำธุรกิจใหม่ๆ หรือสินค้าและบริการใหม่ๆ ที่ตลาดไม่รู้จักครับ

มีหลากหลายธุรกิจเลยที่ล้มเหลวเพราะว่าไม่สามารถสื่อสารไอเดียของธุรกิจตัวเองให้กับลูกค้าเข้าใจได้ และพ่ายแพ้ให้กับคู่แข่งหน้าใหม่ที่มีไอเดียแทบจะเหมือนกันแต่สื่อสารได้ดีกว่าครับ

ทักษะด้านการสื่อสารจะยิ่งเป็นปัญหาอย่างมากกับ Introvert ที่อยากเป็นผู้ประกอบการ แต่ไม่ชอบการเข้าสังคม แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีทางแก้เลยนะครับ เพราะมีงานวิจัยพบว่า คนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่เป็น Introvert เกินครึ่งเลยด้วยซ้ำ

ดังนั้นไม่ว่าเราจะเป็นคนแบบไหน แต่ถ้าเราอยากเป็นผู้ประกอบการที่กำลังจะเริ่มธุรกิจใหม่ๆ ทักษะการสื่อสารและเข้าสังคมจะเป็นตัวแปรสำคัญที่พาธุรกิจเรารุ่งหรือร่วงเลยทีเดียวครับ

5. ทักษะภาษาอังกฤษ

ผมคิดว่าทักษะภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่คนมองข้ามไปมากๆ เลยครับ ทั้งที่จริงๆ แล้วการเข้าใจในภาษาอังกฤษเป็นส่วนสำคัญในการเข้าถึงความรู้อีก 80% ของโลกเราเลยก็ว่าได้ครับ เพราะหนังสือและงานวิจัยด้านเทคโนโลยีต่างๆ ล้วนถูกเขียนด้วยภาษาอังกฤษทั้งสิ้น

ดังนั้นทักษะด้านภาษาอังกฤษจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เรามีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลมากขึ้น เห็นโอกาสในการทำธุรกิจมากขึ้น และช่วยให้มีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้นครับ 

แน่นอนว่าก็มีผู้ประกอบการหลากหลายคนที่ไม่ได้เก่งภาษาอังกฤษก็ประสบความสำเร็จได้ แต่ผมคิดว่าในยุคก่อน การเข้าถึงการเรียนภาษาอังกฤษอย่างมีคุณภาพอาจจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากเมื่อเทียบกับสมัยนี้ ซึ่งถ้าคนยุคก่อนเข้าถึงการเรียนได้ง่ายแบบเรา ผมคิดว่าพวกเค้าคงไม่ลังเลที่จะเรียนแน่นอนครับ

ดังนั้นผมคิดว่าเราไม่จำเป็นที่ต้องปิดโอกาสในการเข้าถึงความรู้มากมายด้วยการไม่รู้ภาษาอังกฤษเลยครับ เราสามารถเรียนภาษาอังกฤษด้วยตัวเองได้ง่ายๆ เพื่อเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจของเราครับ

6. ทักษะการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส (Resilience)

Resilience คือ ความสามารถในการฟื้นตัวจากวิกฤต หรือที่คนส่วนใหญ่ชอบเรียกกันว่า การล้มแล้วลุกให้ไว นั่นเองครับ ผมคิดว่าในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความสามารถในการฟื้นตัวจากวิกฤต และพลิกวิกฤตเหล่านี้ให้เป็นโอกาสเป็นทักษะที่เราจะเห็นได้บ่อยๆ กับนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จครับ ไม่ว่าจะเป็น Elon Musk ที่ก่อนจะทำ Tesla สำเร็จ ก็เจอวิกฤตมากมายมาก่อน หรือ 

ดังนั้น Resilience จึงเป็นทักษะที่สำคัญมากๆ กับการเป็นผู้ประกอบการที่อยากจะประสบความสำเร็จในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วครับ

7. Soft Skills อื่นๆ

Soft skills คือ ทักษะโดยทั่วไปที่สามารถใช้ได้ในทุกอาชีพ ซึ่งทักษะด้านบนที่ผมยกตัวอย่างไปก็เป็น Soft Skill บางส่วนครับ แต่ว่าที่ผมยกให้เป็นทักษะหลักในวิชาชีพ หรือ Hard Skill เลย นั่นเป็นเพราะว่าการจะเป็นผู้ประกอบการที่ดีได้นั้นมักจะมีทักษะที่ว่ามาทั้งหมดติดตัวครับ เพราะทักษะเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญต่อการประสบความสำเร็จในฐานะของ Entrepreneur นั่นเอง

ซึ่งถ้าถามว่ามี Soft Skills อื่นๆ ที่น่าสนใหมละก็ ผมขอยกมาสัก 5 Soft Skill ที่น่าสนใจสำหรับคนที่อยากจะเตรียมความพร้อมให้ตัวเองเป็น Entrepreneur ที่ประสบความสำเร็จครับ

  • Leadership หรือ ทักษะความเป็นผู้นำ เป็นสกิลที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งครับ เพราะหลายๆ ครั้ง การเป็นเจ้าของธุรกิจจำเป็นที่ต้องมีการบริหารคน มีการสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้นั่นเอง

 

  • Negotiation หรือ ทักษะการเจรจาต่อรอง เป็นทักษะที่จะช่วยให้การทำงานในฐานะของผู้ประกอบการราบรื่นมากๆ ครับ เพราะการเข้าใจในรักษาผลประโยชน์ของบริษัท และการสร้างความสัมพันธ์ต่างๆ เป็นหนึ่งในปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจในยุคนี้เลยครับ

 

  • Storytelling คือ ทักษะการเล่าเรื่อง หรือ การนำเสนอไอเดียให้มีความน่าสนใจผ่านการเล่าเรื่องครับ ทักษะนี้จะเป็นสิ่งที่จะยกระดับการสื่อสารของเราให้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเลยครับ

 

  • Critical thinking คือ การคิดเชิงวิพากษ์ หรือ การคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล และมองสิ่งต่างๆ ในพื้นฐานของความเป็นจริง เพื่อเข้าใจในสิ่งต่างๆ อย่างละเอียด ซึ่งการคิดเชิงวิพากษ์จะช่วยให้เราสามารถแยกแยะได้ว่าข้อมูลไหนควรเชื่อและไม่ควรเชื่อในโลกที่เต็มไปด้วยข้อมูลครับ

 

  • Lifelong learning คือ แรงผลักดันในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญสุดๆ ไปเลยในโลกที่อะไรๆ ก็มีมาให้เรียนรู้ตลอดเวลาครับ ถ้าอยากจะเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในยุคนี้ละก็ ทักษะนี้เป็นสิ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยครับ

 

สรุปการเป็นผู้ประกอบการ Entrepreneur

จบกันไปแล้วครับ สำหรับบทความนี้ เราได้รู้ว่าการเป็นผู้ประกอบการต้องมีทักษะและมายเซ็ทพื้นฐานเพื่อเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในโลกยุคใหม่ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านในการสร้างฝันการเป็น Entrepreneur ให้เป็นจริงครับ

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

ผู้ประกอบการ คือ คนที่สามารถมองเห็นโอกาสทางธุรกิจจากเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัว และนำมสร้างรายได้ให้กับตัวเองจากการสร้างสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ให้กับลูกค้า

โดยรวมแล้ว ผู้ประกอบการ หรือ Entrepreneur สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทหลักๆ คือ SME, Online Entrepreneur, Social Entrepeneur และ Startup ครับ

อย่างไรก็ดี แต่ละที่ก็มีการแบ่งประเภทที่ไม่เหมือนกันครับ

7 ทักษะที่จำเป็นต้องการเจ้าของกิจการที่ประสำเร็จคือ 1.) ทักษะการจัดการและความรู้พื้นฐานด้านธุรกิจ 2.) ทักษะการแก้ปัญหา 3.) ทักษะการตัดสินใจ 4.) ทักษะการสื่อสาร 5.) ทักษะภาษาอังกฤษ 6.) Resilience 7.) Soft Skills

บทความนี้มีเป็นประโยชน์กับคุณหรือไม่?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวตเลย!

Average rating 4.8 / 5. Vote count: 6

Written by