รีวิวหนังสือ Think Again คิดแล้ว คิดอีก โดย Adam Grant
ก่อนเข้าสู่รีวิวหนังสือ Think Again ของ Adam Grant ผมมีควิชสั้นๆ อยากให้ทุกคนลองทายครับว่าความเชื่อไหนผิด
1. Open office ส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือกัน และทำให้ประสิทธิการทำงานสูงขึ้น | 2. การออกแบบออฟิศแบบ Traditional นั่งเป็นคอกๆ ทำให้ไม่เกิดนวัตกรรม |
ความเชื่อที่คิดว่าจริง | ความจริงที่พิสูจน์แล้ว | ที่มา |
---|---|---|
มนุษย์ใช้สมองแค่ 10% | ใช้เต็มที่เกือบ 100% ตลอดเวลา | Scientific American |
กระทิงเกลียดสีแดง | หงุดหงิดความพริ้วไหวของผ้าที่นักสู้กระทิงใช้ | Discovery Channel’s MythBusters |
ของตกไม่ถึง 5 วิ ยังกินได้! เชื้อโรคยังไม่ตื่น | ในช่วงเวลา 5 วินาที มีจำนวนแบคทีเรียในอาหารที่ตกพื้นอย่างมีนัยยะสำคัญ | Scientific American |
มีความเชื่อสุดฮิตอีกมากมายที่ผมไม่ได้พูดถึงในที่นี้ ซึ่งหลายๆ ความเชื่อได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่จริง แต่ทว่าทำไมเรายังถึงเชื่อสิ่งเหล่านี้อยู่อีก และการยึดติดกับความเชื่อในอดีตส่งผลยังไงกับการทำงานในโลกอนาคต รีวิวหนังสือ Think Again ของคุณ Adam Grant มีคำตอบให้แน่นอน
อะไรคือการ Rethinking? สรุป 3 ข้อคิดจากหนังสือ Think Again โดย Adam Grant
“ผมไม่เชื่อในเรื่องของความเด็ดขาดหรอก แต่ถ้ามีหลักฐานมาพิสูจน์ละก็ ผมก็พร้อมที่จะเปลี่ยนใจ”
ผมแปลประโยคข้างบนมาจากภาษาอังกฤษอีกที แต่ผมรู้สึกว่าโควทนี้รวบใจความสำคัญของหนังสือ Think Again ไว้ได้เป็นอย่างดี นั่นก็คือ “ในวันที่โลกเปลี่ยนเร็ว ใจเราต้องเปลี่ยนให้ทันโลก”
ดังนั้นถ้าจะพูดแบบง่ายๆ ละก็ การ Think Again หรือการ Rethink ก็คือ “ความพร้อมที่จะเปลี่ยนใจ” ในสิ่งที่เราเชื่อ เพื่อให้เราได้คิดใหม่ทำใหม่และปรับตัวเองให้ก้าวทันโลก
จะมีช่วงนึงที่ประโยค “Learn-Unlearn-Relearn” ฮิตมากในโลกออนไลน์ จนหลายๆคนออกมาแซวในทวิตเตอร์ว่า เป็นคนทำงานยุคใหม่นี่ลำบ๊ากลำบาก เพราะต้อง Learn-Unlearn-Relearn ฟังพอตแคสต์ ออกกำลังกาย แถมยังต้องศึกษาการลงทุน ซึ่งผมแอบเห็นด้วย + ปนขำนะครับ555
แต่ก็ต้องยอมรับว่า Learn-Unlearn-Relearn หรือการเปลี่ยนใจ ทบทวนตัวเอง และการเรียนรู้ใหม่เป็นสิ่งที่สำคัญจริงๆในโลกที่เดี๋ยวก็มีอะไรมากระทบการทำงานของเราตลอดเวลา ซึ่งผมได้สรุป 3 ข้อคิดจากหนังสือ Think Again ไว้ดังนี้ครับ
ข้อคิดที่ 1: เปลี่ยนตัวเองให้คิดใหม่ (Think Again) ต้องยอมรับว่าตัวเองไม่ได้รู้ทุกเรื่อง
จะ Think Again ได้ต้องเริ่มต้นจากการอ่อนน้อมถ่อมตน (Humility) รู้ว่าตัวเองรู้และไม่รู้อะไร
ถ้ายกตัวอย่างของผมละก็ สิ่งที่ผมไม่รู้มีเพียบครับ เช่น การลงทุนแบบมืออาชีพ แฟชั่น เคมี การไปงานเลี้ยงโดยที่ไม่รู้สึกเหนื่อย ไปจนถึงกระทั่งวิธีการต่างๆที่จะทำให้เธอรับรัก (อันนี้ไม่เกี่ยว5555)
แต่พ้อยก็คือว่า ถ้าเรารู้ตัวว่าเราไม่รู้อะไร เราจะสงสัยในสิ่งนั้นๆ และเริ่มหาความรู้เพิ่มเติมได้ ซึ่งนำไปสู่การ Rethinking และการพัฒนา Growth Mindset ให้กับตัวเองได้อีกด้วย
ยอมรับความผิดพลาดในวันนี้ เพื่อให้ไม่ผิดอีกในวันข้างหน้า
“ผมดีใจเลยนะ เห้ย ผมผิดไง ในอนาคตผมจะผิดน้อยลง มันทำให้ผมได้คิดใหม่”
และนั่นทำให้อาจารย์ชัชชาติได้ Think Again ปรับตัว และพัฒนาให้ตัวเองเป็นคนที่เก่งขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการนำความรู้จากหนังสือ Think Again มาปรับใช้ ยอมรับว่าตัวเองผิด และปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น
ความผิดพลาดเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ ผิดในวันนี้ เพื่อวันหน้าจะได้ไม่ผิดซ้ำ
สวมบทบาทนักวิทยาศาสตร์ ก่อนจะเชื่ออะไรต้อง “เอ๊ะ” ไว้ก่อน
นักวิทยาศาสตร์ถูกจ้างมาให้ “เอ๊ะ” ตลอด
เอ๊ะ ในที่นี้หมายถึงว่า “เอ๊ะ เราเชื่อสิ่งนี้ได้ไหม?” ถ้าจะเชื่อสิ่งนี้เราต้องพิสูจน์ให้ได้ว่ามันจริงหรือเท็จ
นักวิทยาศาสตร์มักจะอ่อนน้อมถ่อมตน เปิดใจให้ตัวเองได้ Think Again ไม่ยึดติดกับชุดความรู้เดิมที่มีอยู่และพยายามท้าทายความเชื่อของตัวเองด้วยการถามว่าทำไมสิ่งที่ตัวเองเชื่อในวันนี้ถึงผิดและหาข้อพิสูจน์ให้ได้
นั่นเป็นเพราะว่ามายเซ็ทของนักวิทยาศาสตร์ก็คือ อย่าเชื่อมั่นในความรู้ตัวเอง แต่ให้เชื่อมั่นในความสามารถในการเริ่มรู้เพิ่มของตัวเราเอง ซึ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์หยุดคิดและ Rethink ตัวเองเสมอ ไม่เย่อหยิ่งและมั่นใจในตัวเองมากเกินไป
ข้อคิดที่ 2: จะปั้นธุรกิจให้ติดตลาด หรือ ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน วัดกันที่ทักษะการคิดใหม่ (Think Again)
เรามักจะชื่นชมนักธุรกิจที่มีความเด็ดขาด เชื่อมั่นในความคิดและวิสัยทัศน์ของตัวเองจนประสบความสำเร็จ แต่ผมมองว่า จะปั้น Startup ให้ติดตลาดได้นั้นต้องขยัน Think Again คิดใหม่ทำใหม่ตลอดเวลา
ผมไม่ได้มองว่าความเด็ดขาดเป็นเรื่องที่ไม่ดีนะครับ แต่การปักใจเชื่อในความคิดตัวเองเกินไปนั้นลดโอกาสการประสบความสำเร็จทั้งในเรื่องของการทำธุรกิจและการทำงาน
ข้อคิดที่ 3: เปิดใจให้คนอื่นคิดใหม่ (Think Again) ต้องเน้นฟัง เน้นหาจุดร่วม และพูดคุยเพื่อสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน
ไม่ใช่แค่เราเท่านั้นที่เปลี่ยนใจตัวเองได้ เราสามารถโน้มน้าวให้อีกฝ่ายคิดใหม่ Rethinking ความเชื่อที่ผิด และอัพเดทความเชื่อเหล่านั้นให้ถูกต้อง ซึ่งการจะทำแบบนั้นได้ เราจะต้องเอา 4 สิ่งมาผสมผสานกันเพื่อให้อีกฝ่ายคล้อยตามและหันมา Think Again ดังนี้ครับ
จุดเริ่มต้นของการโน้มน้าวใจคือการเป็นผู้ฟังที่ดี
การเป็นผู้ฟังที่ดีคือรากฐานสำคัญให้เราประสบความสำเร็จในการทำให้อีกฝ่าย Think Again นั่นเพราะว่า การฟังคือจุดเริ่มต้นของการทำความเข้าใจอีกฝ่ายนั่นเอง
แต่ว่าการฟัง (แบบว่าฟังจริงๆ) เป็นเรื่องที่ยากมากๆ ผมเองก็ยังมีปัญหาเรื่องนี้ เวลาฟังใครพูดแบบโฟกัสมากๆ ก็จะมีความคิดอื่นหลุดเข้ามาระหว่างฟัง หรือแม้กระทั่งคิดคำตอบว่าควรจะตอบอีกฝ่ายว่าอะไร ซึ่งเป็นข้อผิดพลาดที่ร้ายแรงสุดๆ
เพื่อนร่วมงาน A: วันนี้โดนบอสด่าอีกละ เบื่อมากกก
ผม: อ่อออออ (พูดอะไรต่อดี จะ่อ่อเฉยๆ ก็ไม่ได้ไหม)
เพื่อนร่วมงาน A: งานก็ทำให้แล้ว ก็บอสบรีฟมาแบบนี้เองอะ
ผม: อืมมมม (เอ้อ เกมวันนั้นที่เล่นค้างไว้ เดี๋ยวกลับไปเล่นต่อดีกว่า)
เพื่อนร่วมงาน A: ยังฟังเราอยู่ใช่ไหม? TT
ไม่ใช่แค่ความคิดที่อยู่ๆ ก็แว้บมาเท่านั้น อากับกริยาของเราที่แสดงให้เราเห็นเราฟังอีกฝ่ายอยู่นั้นก็สำคัญไม่แพ้กัน ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำต่อจากการเป็นผู้ฟังที่ดี คือ
1. ฟังและถามคำถามปลายเปิดเพื่อให้เราและอีกฝ่ายเข้าใจกันมากขึ้น
การถามคำถามปลายเปิดจะทำให้เราเจอ “จุดร่วม” ที่ทั้งเราและอีกฝ่ายเห็นตรงกัน
การถามคำถามให้อีกฝ่ายได้คิดต่อจากสิ่งที่พูด นอกจากจะช่วยให้เราเข้าใจอีกฝ่ายมากขึ้นแล้ว ยังช่วยทำให้อีกฝ่ายเข้าใจตัวเองมากขึ้นด้วย
2. โน้มน้าวอีกฝ่ายด้วย 3 เหตุผลเน้นๆ ไม่เอาน้ำ
เมื่อฟังและหาจุดร่วมได้ สิ่งที่เราต้องทำเพื่อโน้มน้าวอีกฝ่ายให้เปลี่ยนความคิด สิ่คือคัดเอา 3 เหตุผลหลักๆ ที่อีกฝ่ายควรเปลี่ยนความคิด
มากกว่า 3 ได้ไหม? จริงๆ แล้วก็ได้นะครับ แต่ว่าถ้าเหตุผลข้ออื่นๆ เป็นเหตุผลที่ไม่เน้นเนื้อ มีแต่น้ำละก็ จะถูกอีกฝ่ายตีตก และทำให้เค้าไม่ยอมเปลี่ยนใจได้
3. ให้อำนาจอีกฝ่ายในการตัดสินใจ และยืนยันว่าอีกฝ่ายสามารถเปลี่ยนความคิดได้
ท้ายที่สุดก็คือการให้อำนาจอีกฝ่ายในการตัดสินใจ เพราะยิ่งบังคับให้เปลี่ยน ยิ่งเปลี่ยนได้ยาก
สิ่งที่เราทำหลังจากฟัง หาจุดร่วม และให้เหตุผล 3 ข้อ ก็คือ ให้กำลังใจและส่งเสริมว่าอีกฝ่ายสามารถเปลี่ยนสิ่งที่ตัวเองเชื่ออยู่ได้ อิสระทุกอย่างอยู่ที่ตัวอีกฝ่ายเอง
อารมณ์ประมาณว่า “เปลี่ยนก็ดีนะ แต่ท้ายที่สุดเธอตัดสินใจเองได้เลยว่าจะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยน”
สรุปหนังสือ Think Again
หนังสือ Think Again เขียนโดย Adam Grant อธิบายให้เห็นถึงความสำคัญของการ “คิดใหม่” เพื่อให้ธุรกิจและคนทำงานประสบความสำเร็จในโลกการทำงานยุคใหม่
การคิดใหม่จะช่วยให้เราไม่ตกขบวนการเปลี่ยนแปลง สอนให้คิดแบบนักวิทยาศาสตร์ โดยให้เราตั้งคำถามกับความคิดชุดเดิม สงสัยในสิ่งที่ไม่รู้ และเติมความรู้ใหม่ๆ เสมอ พร้อมทั้งสอนให้เปลี่ยนใจคนอื่นด้วยการฟัง หาจุดร่วม เข้าใจอีกฝ่าย และโน้มน้าวด้วยเหตุผลเน้นๆ 3 ข้อ
ถ้าอยากหารีวิวและสรุปหนังสือดีๆ แบบนี้ลองอ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์หรือกดติดตาม Social Media ของ Contentbooknotes ไว้ได้เลยนะครับ
ในหนังสือยังมีอีกหลายเรื่องที่เป็น Case study เล่าให้ฟัง รวมถึงดีเทลอื่นๆ ที่ดีมากๆ แต่ไม่ได้พูดถึงครับ
บทความนี้มีเป็นประโยชน์กับคุณหรือไม่?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวตเลย!
Average rating 4.9 / 5. Vote count: 9